• โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565
  • โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565
  • โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565
  • โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565
  • โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565

โครงการ “ย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ปีการศึกษา 2565

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา 01470371 ศาสนาและความคิดทางสังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Religions and Socio-Political Thoughts in Southeast Asia) เป็นวิชาบังคับให้กับนิสิตสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของศาสนา ความเชื่อ และความคิดทางสังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงร่วมสมัย การเผยแพร่ของศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ลัทธิขงจื้อ และปรัชญาอื่นๆ การผสมผสานและการปรับตัวของศาสนาและความคิดทางสังคมการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดังนั้นเพื่อให้นิสิตได้รับความรู้ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาดังกล่าว และได้รับประสบการณ์ตรงอันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป จึงจัดโครงการทัศนศึกษานอกสถานที่คือ “โครงการย้อนดูศาสนากับสังคมการเมืองสมัยพระนารายณ์มหาราช” ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2565 ในวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดลพบุรี เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของศาสนา ความเชื่อ และความคิดทางสังคมการเมืองของไทยสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาทำการค้า พร้อมกับใช้ศาสนาคริสต์เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อิทธิพลทางการเมือง ร่องรอยการเผยแพร่อิทธิพลดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในจังหวัดลพบุรีปัจจุบัน ด้วยเหตุเพราะสมัยพระนารายณ์ทรงครองราชย์ มีช่วงเวลาหนึ่งที่ทรงย้ายมาสร้างราชธานีอยู่ในแถบนี้ก่อนจะสิ้นพระชนม์ ในสมัยพระองค์เป็นสมัยที่นานาอารยประเทศต่างพากันเข้ามาเจริญสมพันธไมตรีกับไทย จนเป็นที่กล่าวขานว่าพระองค์โปรดคบค้ากับชาวต่างชาติมากยิ่งกว่ากษัตริย์องค์อื่น ๆ  นอกจากจะทรงมีพระบรมราชานุญาตให้บาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนา ยังโปรดให้ตั้งโบสถ์เพื่อให้ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในอยุธยาได้มีสถานที่สำหรับประกอบกิจทางศาสนาของตนเองด้วย  ดังปรากฏมีโบสถ์จำนวนมากตั้งอยู่ใกล้กับเขตพระราชฐานในลพบุรี ทั้งนี้การศึกษาจะเน้นการเรียนรู้ผ่านการดูงานโบราณสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก